พื้นที่เรียนรู้ "ศูนย์เรียนรู้ป่าในกรุง"
ปตท. องค์กรรัฐวิสาหกิจที่ดูแลความมั่นคงทางพลังงานของชาติไปพร้อมกับความยั่งยืนของสร้างการพัฒนาทางสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลร่วมกัน
อดีตผู้ว่าการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย “คุณเลื่อน กฤษณกรี” เคยกล่าวไว้ว่า “องค์กรสมัยใหม่จะอยู่ยืนยาวได้ ต้องคิดถึงการให้สู่สังคมและสิ่งแวดล้อม” อันเป็นส่วนหนึ่งของที่มาในการที่ ปตท. เสนอเข้าร่วม โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ จำนวน 1 ล้านไร่ นับตั้งแต่ปี 2537 เป็นต้นมา กล้าไม้ประดู่พระราชทานต้นแรกจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และเป็นจุดเริ่มต้นของภารกิจของกลุ่ม ปตท. ในการปลูกป่าเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศ ลดภาวะโลกร้อน รวมถึงการสร้างพลังของมวลชนรอบพื้นที่แปลงปลูกป่าของ ปตท. ให้เกิดความตระหนักและร่วมรักษาผืนป่าให้อยู่คู่ชุมชนได้ในระยะยาว
ภารกิจของ ปตท.ได้รับการจารึกในหน้าประวัติศาสตร์ เมื่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนิน พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในพิธีน้อมเกล้าฯ ถวายโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ เนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ปีที่ 50 จำนวน 1 ล้านไร่ ณ พื้นที่ป่าชายเลน แปลงปลูกป่า FPT 29 และ 29/3 อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545
จุดเริ่มต้นของการมองหาที่ดินในกรรมสิทธิ์ของ ปตท. เพื่อดำเนินการสร้างผืนป่า โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีที่ดินแปลงหนึ่ง ตั้งอยู่ริมถนนสุขาภิบาล 2 เขตประเวศ มีความเหมาะสมในการพัฒนาการสร้างป่าในเมืองให้เกิดขึ้นได้จริง เพื่อมุ่งการสร้างป่าที่มีสภาพที่เป็นป่าจริง มีสังคมของสิ่งมีชีวิตสามารถเข้ามาใช้ประโยชน์ทั้งคนและสัตว์ เป็นระบบนิเวศที่เกื้อหนุนกัน และมีสัตว์ขนาดเล็กเข้ามาอยู่อาศัย เพื่อเอื้อต่อสภาพการดำรงอยู่และความสัมพันธ์ของระบบนิเวศที่จะเกิดขึ้นในอนาคตก็ใกล้ชิดกับป่าได้ และอย่างน้อย...ลูกหลานเราก็มี "ป่า" ให้เรียนรู้แม้อยู่ในกรุง ศูนย์เรียนรู้ป่าในกรุงได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปลายปี 2555 ด้วยการศึกษาแนวคิดที่เกี่ยวกับการสร้างสวนป่าในเมือง และพันธ์ไม้พื้นถิ่นของกรุงเทพฯ เพื่อให้เป็นศูนย์เรียนรู้เรื่องการปลูกป่าของ ปตท. และธรรมชาติดั่งเดิมของ กทม. ซึ่งมีเป้าหมายที่จะแล้วเสร็จในปี 2557 หลังจากนั้นจะเปิดให้เข้าชมอย่างเป็นทางการในปี 2558 เพื่อให้ประชาชน สามารถเรียนรู้การปลูกป่าเชิงนิเวศแบบยั่งยืน เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของสวนป่าในเมืองที่เติบโตอย่างรวดเร็ว รวมทั้งยังเป็นศูนย์กลางที่ รวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานเรื่องป่าไม้ของ ปตท.
การดูแล บำรุงรักษา เช่น การกำจัดวัชพืช การให้น้ำ สำหรับการสร้างป่านิเวศตามแนวคิดของ ศาสตราจารย์ ดร.อาคิระ มิยาวากิ (Miyawaki’s Method) นั้น มีความจำเป็นเพียงในช่วง 2-3 ปีแรก หลังจากนั้นจะปล่อยให้ธรรมชาติจัดการตัวเอง ซึ่งจะทำให้ได้ป่านิเวศที่ใกล้เคียงกับป่าธรรมชาติดั้งเดิม
วังจันทร์รวมรัก ปลูกผักแบ่งปัน ตอน น้ำเต้า
ความหลากหลายของสิ่งมีขีวิต #ศูนย์เรียนรู้ป่าในกรุง
วังจันทร์รวมรัก ปลูกผักแบ่งปัน ตอน ฟักแฟง หรือฟักเขียว
วังจันทร์รวมรัก ปลูกผักแบ่งปัน ตอน ถั่วพู
อาคารนิทรรศการ ศูนย์เรียนรู้ป่าในกรุง
วังจันทร์รวมรัก ปลูกผักแบ่งปัน ตอน “โหระพา”
นิทรรศการ ณ ป่าวังจันทร์
วังจันทร์รวมรัก ปลูกผักแบ่งปัน ตอน "บวบเหลี่ยม"
วังจันทร์รวมรัก ปลูกผักแบ่งปัน 👩🌾🥦 . ตอน "ถั่วฝักยาวลายเสือจักรพันธ์ เบอร์ 1"
การปลูกป่านิเวศ ตามแนวคิด “มิยาวากิ” ณ ศูนย์เรียนรู้ป่าในกรุง