การปลูกป่านิเวศ ตามแนวคิด “มิยาวากิ” ณ ศูนย์เรียนรู้ป่าในกรุง
________________________________________________
.....ปตท. ตั้งใจให้ “ศูนย์เรียนรู้ป่าในกรุง” เป็นศูนย์เรียนรู้เรื่องป่าและระบบนิเวศที่จำลองป่ากรุงเทพฯในอดีต โดยใช้หลักการ “การปลูกป่านิเวศ” ซึ่งหมายถึง “ป่าที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อให้มีสภาพใกล้เคียงสภาพป่าธรรมชาติ” โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีของ ศาสตราจารย์ ดร.อาคิระ มิยาวากิ (Miyawaki’s Method) ร่วมกับองค์ความรู้การปลูกป่าของ ปตท. ในการวิเคราะห์และปรับปรุงคุณภาพดิน ศึกษาพันธุ์ไม้ดั้งเดิมของกรุงเทพฯ รวมถึงการเลือกใช้พันธุ์ไม้ที่เหมาะสมกับสภาพของดิน

จุดเด่นของการปลูกป่านิเวศ ตามหลักของ ศ.ดร. อาคิระ มิยาวากิ
• ป่าปลูกเจริญเติบโตและฟื้นฟูได้อย่างรวดเร็ว
• ฟื้นคืนความหลากหลายทางชีวภาพให้เป็นสภาพป่าดั้งเดิม
• ปลูกได้ในพื้นที่จำกัด
-------------------------------------------------------------------------------------
หลักและวิธีการปลูกป่าในศูนย์เรียนรู้ป่าในกรุง
.....ดำเนินการตามหลักการสร้างป่านิเวศของ ศาสตราจารย์ ดร. อาคิระ มิยาวากิ โดย
1) การศึกษาพันธุ์ไม้ท้องถิ่นปกคลุมดั้งเดิม เพื่อนำมาใช้ปลูกพื้นที่
2) การคัดสรรกล้าไม้ต้องเลือกกล้าไม้ที่มีระบบรากแข็งแรง
3) ปลูกพันธุ์ไม้หลากหลายชนิดผสมผสานให้มีความหลากหลายทางชีวภาพ (Species Diversity)
4) ปลูกแบบถี่การปลูกถี่ 4 ต้นต่อพื้นที่ปลูก 1 ตารางเมตร ปลูกแบบสุ่ม คละชนิดพันธุ์ไม้ก่อนปลูก ให้เหมือน ลักษณะป่าธรรมชาติ ไม่ปลูกเป็นแถวเป็นแนว
5) ปลูกพันธุ์ไม้หลายระดับ ทั้งไม้ยืนต้น (Tree) ไม้พุ่ม (Shrub) และไม้พื้นล่าง (Herb)
6) การปลูกและดูแลอย่างพิถีพิถัน ได้แก่
6.1) การสร้างเนินดิน เพื่อเพิ่มพื้นที่ผิวดิน ช่วยในการระบายน้ำ และช่วยในการระบายอากาศของกล้าไม้ในระยะเริ่มต้น รวมถึงการผสมดินเพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุในดิน เพื่อให้มีสารอาหารเพียงพอสำหรับการเจริญเติบโตของต้นไม้ในช่วง 3 ปีแรก โดยเป็นดินผสมที่มีคุณภาพดี มีส่วนผสมของดินร่วนและวัสดุย่อยสลายได้ ได้แก่ ดิน แกลบดิบ ขุยมะพร้าว และปุ๋ยคอกที่ได้จากมูลสัตว์ ในสัดส่วน 3:1:1:1
6.2) การนำกล้าไม้จุ่มน้ำก่อนการปลูก เพื่อให้น้ำในระบบรากของกล้าไม้ก่อนดำเนินการปลูก
6.3) การคลุมด้วยฟางข้าว เพื่อเพื่อช่วยเก็บรักษาความชื้นในดิน
-------------------------------------------------------------------------------------
ผลที่ได้รับจากการปลูกป่านิเวศ ณ ป่าในกรุง (ปลูกป่าทั้งหมด 9 ไร่ จากพื้นที่ทั้งหมด 12 ไร่)
- จากการลงกล้าไม้ในปี 2556-2557 ต้นไม้บางส่วนที่ปลูกขึ้นในพื้นที่
พบว่ามีความสูงขึ้นโดยเฉลี่ยปีละ 1-2 เมตร
- ปริมาณการกักเก็บคาร์บอนทั้งหมด เท่ากับ 183.31 tCO2 ซึ่ง
สามารถชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสำหรับคนไทยได้ทั้งหมด
46 คน (ผลวิจัยปี 2560)
- เกิดพันธุ์พืชหลากหลายกว่า 270 ชนิด ที่เป็นสังคมพืชดั้งเดิมของ
กรุงเทพฯ
- ฟื้นคืนความหลากหลายของของสัตว์ป่า รวมกว่า 100 ชนิด ได้แก่
จำพวก นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์สะเทินน้ำ
สะเทินบก ซึ่งพบหลายชนิดที่เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
-------------------------------------------------------------------------------------
สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างไรบ้าง?
…ผู้ที่สนใจต้องการปลูกป่าฟื้นคืนระบบนิเวศในเวลาอันรวดเร็ว สามารถนำหลักการปลูกป่าแบบมิยาวากิ ไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ที่จำกัด ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ส่วนตัวขนาดเล็ก หรือปลูกฟื้นฟูตามพื้นที่สาธารณะต่างๆได้ค่ะ