อาคารนิทรรศการ ศูนย์เรียนรู้ป่าในกรุง
จุดที่ 1 : ห้องภาพยนตร์สั้น
จุดที่ 2 : ผนังดินบดอัด และนิทรรศการเมล็ดพันธุ์ไม้
เป็นอีกจุดยอดนิยมสำหรับการถ่ายภาพ อีกทั้งผนังดินยังเป็นฉนวนกันความร้อนให้กับตัวอาคาร เป็นเทคนิคการก่อสร้างโดยใช้วัสดุดินธรรมชาติ ซึ่งเป็นฉนวนกันความร้อน ซึ่งการออกแบบนี้อยู่ภายใต้มาตรฐานอาคารอนุรักษ์พลังงานดีเด่นตามมาตรฐาน LEED ภายใต้การรับรองของ สภาอาคารเขียว สหรัฐอเมริกา
เมล็ดไม้ที่เป็นอาหารและสมุนไพร สามารถรับประทานได้
เมล็ดไม้ผลัดใบ เป็นเมล็ดไม้ของกลุ่มพืชที่มีการผลัดใบในช่วงฤดูแล้ง
เมล็ดพันธุ์ไม้ท้องถิ่นไทย ควรค่าแก่การอนุรักษ์ เป็นไม้ที่มีถิ่นกำเนิด หรือค้นพบที่ประเทศไทยเป็นที่แรก เช่น มะค่าแต้ เป็นต้น
เมล็ดไม้เศรษฐกิจ เช่น สัก พะยูง เป็นต้น
เมล็ดไม้ยืนต้นที่มีดอกสวยงาม เช่น ราชพฤกษ์ กัลปพฤกษ์ เป็นต้น
เมล็ดไม้พืชน้ำกร่อย เป็นกลุ่มพืชที่สามารถเจริญเติบโตอยู่ในบริเวณที่มีความเค็ม
จุดที่ 3 : ห้องนิทรรศการ
ห้องนิทรรศการจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก คือ
ส่วนแรก นำเสนอเรื่องราวการขยายตัวของเมืองใหญ่ และผลกระทบที่เกิดขึ้น
ส่วนที่สอง เป็นประโยชน์ของต้นไม้ เรื่องราวป่าบางกอก หรือป่าดั้งเดิมของกรุงเทพ
ส่วนที่สาม เรื่องราวการปลูกป่าของ ปตท. และองค์ความรู้ต่างๆ
วังจันทร์รวมรัก ปลูกผักแบ่งปัน ตอน น้ำเต้า
ความหลากหลายของสิ่งมีขีวิต #ศูนย์เรียนรู้ป่าในกรุง
วังจันทร์รวมรัก ปลูกผักแบ่งปัน ตอน ฟักแฟง หรือฟักเขียว
วังจันทร์รวมรัก ปลูกผักแบ่งปัน ตอน ถั่วพู
วังจันทร์รวมรัก ปลูกผักแบ่งปัน ตอน “โหระพา”
นิทรรศการ ณ ป่าวังจันทร์
วังจันทร์รวมรัก ปลูกผักแบ่งปัน ตอน "บวบเหลี่ยม"
วังจันทร์รวมรัก ปลูกผักแบ่งปัน 👩🌾🥦 . ตอน "ถั่วฝักยาวลายเสือจักรพันธ์ เบอร์ 1"
การปลูกป่านิเวศ ตามแนวคิด “มิยาวากิ” ณ ศูนย์เรียนรู้ป่าในกรุง
🌶🌽🥕🍠 ร้าน “ผักวังจันทร์” 🍅🍆🥦🥬🥒