ประดู่ป่า (Pterocarpus macrocarpus)
ชื่อพฤกษศาสตร์ Dalbergia cochinchinensis
วงศ์ FABACEAE
ชื่อพื้นเมือง กระยง,กระยุง,ขะยุง,แดงจีน,ประดู่ตม,ประดู่ลาย, ประดู่เสน,ประดู่น้ำ,พะยูงไหม,หัวลีเมาะ
ลักษณะทางนิเวศวิทยา (การกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติ) มีการกระจายพันธุ์ในป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้ง
ทางภาคกลาง ภาคตะวันออกและ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ที่ความสูงจากระดับทะเลปานกลาง 100–600 เมตร
ลำต้น / ลักษณะเนื้อไม้
ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ เรือนยอดเป็นพุ่มกลมหรือเป็นรูปร่ม ไม่แผ่กว้าง ลำต้นตั้งตรงมีความสูงได้ประมาณ 15-30 เมตร มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.3-2.1 เมตร ไม่ค่อยแตกกิ่งก้านสาขา
เปลือกนอกสีน้ำตาลปนเทา หนา แตกเป็นร่อง
ใบ ออกรวมกันเป็นช่อ ลักษณะของใบเป็นรูปมนรีปลายใบแหลม ใบจะร่วงในช่วงฤดูร้อน และจะเริ่มผลิใบใหม่ในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม
ดอก ดอกออกเป็นช่อมีสีเหลืองสดลักษณะคล้ายดอกถั่ว โคนกลีบเลี้ยงกลีบดอกติดกันเป็น กรวยโค้งเล็กน้อย กลีบดอกมี 5 กลีบ มีขนาดดอกเล็ก
ผล เป็นฝักกลมใหญ่กว่าประดู่บ้านและมีขนปกคลุมอยู่ ผลแก่มีสีน้ำตาลแกมเทา ตรงกลางมี เปลือกคลุม แข็งหนา มีเมล็ด 1-2 เมล็ด สีน้ำตาลแดงยาว 0.4-0.5 นิ้ว
ไม้มีคุณภาพดี มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ เพราะเป็นไม้เนื้อแข็ง เนื้อไม้ที่มีสีสวยและลวดลายสวยงาม สีแดงอมเหลืองถึงสีแดงอิฐเข้ม สามารถนำมาใช้ในการก่อสร้างบ้านเรือน ทำเสา คาน ฝาบ้าน พื้นบ้าน ไม้ปาร์เกต์ ไม้ประสาน ไม้อัด แผ่นไม้ชุบซีเมนต์ ฯลฯ นอกจากนี้ยังนิยมนำมาใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ เครื่องเรือนต่าง ๆ เครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องดนตรี
แหล่งอ้างอิง กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
Medthai
แนะนำ 10 ชนิดพันธุ์ไม้ในเมือง(แนะนำ 10 ชนิดพันธุ์ไม้ในเมือง)
ต้นตะเคียนทอง(Hopea odorata Roxb.)
ต้น ยางนา ต้นไม้พระราชทานประจำ จังหวัด อุบลราชธานี(Dipterocarpus alatus Poxb .)
ต้นรัง ☘️(Shorea siamensis Miq. )
ต้นไม้ประจำจังหวัด ระนอง ต้นอบเชย (Cinnamomum bejolghota )
ต้นมะตูม. ☘️(Aeglemarmelos (L.) Correa ex Roxb.)
"ประดู่ป่า" ต้นกล้าต้นที่ 100 ล้าน(Pterocarpus macrocarpus Kurz)
🌳🌳“สีเสียดแก่น” 🌳🌳(Acacia catechu Willd.)
ต้นไม้ประจำจังหวัด กรุงเทพมหานคร “ต้นไทรย้อยใบแหลม” 🌳🏢🌳(Ficus benjamina)
จิกน้ำ(Barringtonia acutangula)